ลดเหงื่อ กลิ่นตัว

ภาวะที่มีเหงื่ออออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis)

“เหงื่อ” เป็นของเสียที่ร่างกายขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่าง ๆ ของร่างกายในรูปของเหลว ซึ่งเป็นภาวะปกติของร่างกายในการควบคุมอุณหภูมิ โดยจะมีการส่งผ่านปลายประสาทอัตโนมัติ ปริมาณเหงื่อของแต่ละคนนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งกระตุ้น บางคนมีการหลั่งเหงื่อออกมามากกว่าปกติ มักพบที่บริเวณ รักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมถึงใบหน้าและลำตัว แล้วถ้าเหงื่อไหลที่บริเวณรักแร้มากเกินไป มักพบบ่อยเฉพาะในวัยรุ่น อาจทำให้เกิดการอับชื้นจนมีกลิ่นตัวแรงได้ เกิดความกังวล ไม่สบายใจ มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเข้าสังคม และทางด้านจิตใจ ทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจ

จากการศึกษา พบว่า

ประมาณ 50% เกิดที่รักแร้ โดยอาจเกิดที่รักแร้จุดเดียว หรือร่วมกับที่ฝ่ามือ และ/หรือฝ่าเท้า

ประมาณ 29%เกิดที่ฝ่าเท้าที่เดียวและ/หรือร่วมกับจุดอื่นๆ

และประมาณ 25% เกิดที่ฝ่ามือที่เดียวและ/หรือร่วมกับจุดอื่นๆ

ในภาวะที่ปกติ การไหลของเหงื่อจะออกมาก เช่น อากาศร้อนอบอ้าว การออกกำลังกาย รับประทานอาหารเผ็ดหรืออาหารร้อน หรือภาวะเครียดวิตกกังวล อาการตื่นเต้น เครียด มีไข้ หรือเกิดจากมีสาเหตุของโรค เช่น พบว่าต่อมไทรอยด์มีการทำงานที่ผิดปกติ

ภาวะหลั่งเหงื่อมากเกิดได้อย่างไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?

  • อาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม พบว่าคนไข้ที่มีภาวะหลั่งเหงื่อมาก คนในครอบครัวก็มีภาวะนี้สูงถึงประมาณ 30-65% ในกลุ่มคนที่มีควสามผิดปกติของยีนบางชนิดจะพบภาวะนี้ได้ประมาณ 25% แต่คนที่มียีนปกติ โอกาสที่จะพบภาวะนี้มีเพียงประมาณ 1%
  • โรคอ้วน ก็ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เพราะไขมันใต้ผิวหนังที่หนาทำให้ร่างกายระบายาความร้อนได้ไม่ดี จึงต้องเพิ่มการระบายความร้อนออกทางผิวหนังเป็นเหงื่อ
  • วัยหมดประจำเดือนหรือภาวะวัยทอง (Post menopausal syndrome) เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง
  • โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis)หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)
  • โรคเบาหวาน จากร่างกายมีความผิดปกติในการใช้พลังงานและการอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อต่าง
  • การติดเชื้อโรคที่ส่งผลให้เกิดอาการไข้เรื้อรัง เช่น โรคมาลาเรีย และวัณโรค
  • โรคหัวใจวายเรื้อรัง เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายจึงทำให้ความร้อนภายในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งต้องกำจัดออกขับเป็นเหงื่อออกมามากผิดปกติ
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยา เช่น (เช่น ยาพาราเซตามอลหรือยาที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน) ยาโรคความดันโลหิตสูง ยาโรคเบาหวาน และยาด้านจิตเวช
  • โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติทั่วตัวและเกิดในช่วงกลางคืน

ภาวะหลั่งเหงื่อมากรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

ไม่ใช่ภาวะที่รุนแรง ไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิต แต่กลับส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง ภาวะหลั่งเหงื่อมากอาจทำให้เกิดการอับชื้น และมีกลิ่น เช่น กลิ่นตัวที่เกิดขึ้นบริเวณรักแร้ หรือกลิ่นเท้าที่เกิดขึ้นฝ่าเท้า ทำให้เกิดความกังวลไม่มั่นใจในการเข้าสังคม พบปะผู้คน อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียได้ง่าย และเกิดผื่นคันตามมา

รักษาภาวะหลั่งเหงื่อมากได้อย่างไร?

  1. ใช้สารที่ลดการขับเหงื่อมีสารอลูมิเนียมคลอไรด์ (Aluminium chloride) ในรูปของโรลออน ครีม หรือสเปรย์ ซึ่งลดเหงื่อได้เล็กน้อย แต่ต้องใช้บ่อยๆ ซึ่งอาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวทำให้รักแร้สีดำและคล้ำเสียได้
  2. วิธีไอออนโตโฟรเรซิส (Iontophoresis) ใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนเป็นตัวกลางไปยังใต้ผิวหนังช่วยในการลดเหงื่อ เป็นวิธีการรักษาชั่วคราว ต้องทำซ้ำบ่อยๆ จึงไม่ค่อยนิยมรักษาด้วยวิธีนี้
  3. การผ่าตัดต่อมเหงื่อ เป็นการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงต่อมเหงื่อเพื่อลดการสั่งงาน โดยการเลาะต่อมเหงื่อออก ซึ่งการผ่าตัดนี้ไม่ค่อยเป็นนิยมเพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลเป็นโดยขนาดเล็ก ราวๆ 1-2 เซนติเมตร
  4. ปัจจุบันได้มีการใช้วิธี Dermal modulation โดยการฉีดโบทอก (Botox หรือ Botulinum toxin) ลดการทำงานของระบบประสาท จึงทำให้เหงื่อออกน้อยลง นอกจาก Botox จะช่วยลดรอยเหี่ยวย่นทำให้ผิวกระชับตึงอ่อนเยาว์แล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหาเหงื่อออกมากผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณใต้วงแขนต้นเหตุของปัญหา โดย Botox จะทำหน้าที่สกัดกั้นการหลั่งสารเป็นตัวการทำให้เกิดเหงื่อ หลังการ Botox ใช้เวลาแค่ 10 นาที มันจะไปควบคุมการเกิดเหงื่อถึง 7-8 เดือน ทำให้ผิวบริเวณใต้วงแขนเรียบเนียน หมดปัญหาเหงื่อออกมาก สามารถสวมใส่ชุดสวยโชว์ใต้วงแขนได้อย่างมั่นใจ

Reference

  1. Amin, K. (2007). Primary focal hyperhidrosis. Dermatologreview.com Journal, Feb 2007. http://www.dermatologyreview.org/journal/hyperhidrosis.pdf [2013,July18].
  2. Hyperhidrosis http://en.wikipedia.org/wiki/Hyperhidrosis [2013,July18].
  3. Hyperhidrosis http://emedicine.medscape.com/article/1073359-overview#showall [2013,July18].
  4. Kaufmann,H. et al. (2003).Primary hyperhidrosis.Clin Auton Res.13, 96-98.
  5. Sweat gland http://en.wikipedia.org/wiki/Sweat_gland [2013,July18].
  6. Thomas, I. et al. (2004). Palmoplantar hyperhidrosis: a therapeutic challenge. Am Fam Physician. 69, 1117-1121.