ผด ผื่น คัน

อาการแพ้ต่าง ๆ ที่บริเวณใยหน้า, ลำตัว และแขนขาหรือโรคแพ้สัมผัสระคายเคือง  AD  และ  SD  แพทย์มักให้ยากลุ่มสเตียรอยด์  ยาแก้แพ้  ยาลดการอักเสบ  การสร้างภูมิต้านทาน  หรือยาฆ่าเชื้อ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค  ดังนั้นการใช้ยาจึงควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์การรักษาอาจเห็นผลอย่างรวดเร็ว  แต่บางครั้งอาจใช้เวลานาน  บางคนอาจต้องรักษาด้วยการทายาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี  เพื่อควบคุมอาการของโรค

ผื่น

(Rash)  หรือสะเก็ดที่ผิวหนัง  เป็นอาการระคายเคือง  หรืออาการอักเสบทางผิวหนัง (Eczema  หรือ Dermatitis)  สามารถรักษาให้หายได้  แม้ว่าไม่ได้เป็นโรคติดต่อ  ซึ่งความผิดปกติประเภทนี้เป็นกลุ่มโรคผิวหนังที่พบได้ทั่วไปและน้อยมากที่สุด

  • สาเหตุภายนอกร่างกาย  เช่น  การสัมผัสกับสารที่ระคายเคือง  หรือ  สารเคมี  เครื่องสำอางที่ทำให้เกิดอาการแพ้
  • สาเหตุในร่างกาย  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย  หรือ  อาการภูมิแพ้โดยกรรมพันธุ์

สาเหตุภายนอกร่างกาย
(Exogenous  or  Contact  Dermatitis)

เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างผิวกับสารเคมีที่สัมผัสผิว  ประเภทที่พบได้บ่อย  คือ

Irritant  Contact  Dermatitis

คือ อาการผิวหนังอักเสบและระคายเคืองเนื่องจากการสัมผัสสารเคมีในระหว่างชีวิตประจำวัน เช่น ขณะทำงานบ้าน ลักษณะงานตามอาชีพ และสิ่งแวดล้อม สารที่มักเป็นสาเหตุของอาการ เช่น สารซักฟอก กรดด่างที่มีความเข้มข้นสูง เป็นต้น อาการสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและเกิดขึ้นได้แม้เมื่อสัมผัสสารเพียงครั้งแรก มักเริ่มต้นด้วยอาการคัน แดง หรือไหม้ในกรณีรุนแรง หลังหยุดใช้สาร อาการจะทุเลาลงแต่บางรายอาจมีอาการแพ้ต่อเนื่อง

Allergic  Contact  Dermatitis

คือ อาการผิวหนังอักเสบ เนื่องจากได้รับการสัมผัสกับสารที่ทำให้แพ้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเฉพาะบางคน มีลักษณะเป็นผื่นผิวหนังอักเสบ คัน สารที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้บ่อย ๆ เช่น โลหะนิเกิล ถุงมือยาง วัสดุ ที่ใช้ทำรองเท้า รวมทั้งเครื่องสำอางต่าง ๆ เช่น ยาย้อมผม ครีมทาผิว เป็นต้น อาการมักเกิดขึ้นหลังการสัมผัสครั้งที่ 2 หรือ ครั้งต่อ ๆ ไป การหยุดใช้สารไม่ทำให้ผื่นหายได้อย่างทันที อาการมักคงอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการแพ้อาจเกิดขึ้นได้อีก เมื่อสัมผัสกับสารนั้นอีกครั้ง

คนไข้ที่มีอาการแพ้เครื่องสำอางพบมากในครีมทาหน้าขาวหน้าใสเร็วที่ไม่ได้มารตฐาน

การวินิจฉัย

แพทย์ผิวหนังจะสอบประวัติและตรวจร่างกาย  เพื่อวินิจฉัยสารที่อาจเป็นสาเหตุของอาการแพ้  จากนั้น  แพทย์จะทำการทดสอบผื่นแพ้ (Patch test)

Patch test คืออะไร

Patch  test  คือ  การทดสอบผื่นแพ้ที่เกิดจากการสัมผัส  สารที่เป็นสาเหตุซึ่งพบได้บ่อย  เช่น  ถุงมือยาง  โลหะนิเกิล  สีย้อมผม  และสารที่ใช้ในการย้อมสี  สารกันบูด  น้ำหอม  เป็นต้น เป็นการทดสอบเพื่อยืนกันการแพ้  และตำแหน่งที่เกิดผื่นที่สงสัยว่าเป็นผื่นสัมผัส  เช่น  การแพ้โลหะนิเกิลมักมีผื่นที่ติ่งหูจากการแพ้ต่างหู  การแพ้สารกันบูดที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์กันแดด  และครีมบำรุงผิวทุกชนิด  แม้กระทั่งการแพ้สารกันแดดบางชนิด  เช่น  Oxybenzoneหรือ  การแพ้น้ำหอมที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอาง  มักมีผื่นที่บริเวณผิวหน้า  การแพ้อาจมีสาเหตุมาจากสารมากกว่าหนึ่งชนิด  การทำ Patch  test  สามารถทดสอบสารที่ต้องสงสัยได้มากกว่าหนึ่งชนิดพร้อมกัน  ทั้งนี้เพื่อบ่งชี้สารที่เป็นสาเหตุของอาการที่แท้จริง

การทดสอบผื่นแพ้ที่เกิดจากการสัมผัส Patch test
  • ควรนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่  หรือสงสัยว่าอาจเป็นสาเหตุของอาการแพ้เช่น  ครีม  ยาทา  หรือเครื่องสำอางมาด้วย  พร้อมบรรจุภัณฑ์และฉลาก
  • ปิดแผ่นพลาสเตอร์ที่มีสารที่จะทำการทดสอบทิ้งไว้ที่บริเวณหลัง  48  ชั่วโมง  ซึ่งหลังจากนั้นแพทย์จะนัดพบเพื่ออ่านผลครั้งแรก  และจะนัดพบครั้งที่สองเมื่อครบ 96 ชั่วโมง  ระหว่างระยะเวลาดังกล่าวควรระวังไม่ให้ผิวหนังเปียกน้ำ  โดยปกติ  มักปิดแผ่นพลาสเตอร์ที่บริเวณแผ่นหลัง  แต่บางครั้งอาจปิดที่บริเวณแขน  กรณีทดสอบสารไม่กี่ชนิด
  • ขณะทดสอบ  จำเป็นต้องงดกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก  เช่น  การเล่นกีฬา
  • การทดสอบนี้อาจกระทำได้ไม่สะดวกในสตรีมีครรภ์
  • ในกรณีผู้ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid)  ทั้งยาเม็ดและยาฉีดควรงดยาประมาณ 1-2 สัปดาห์  ก่อนการทดสอบ  เพราะเสตียรอยด์มีผลกดภูมิคุ้มกัน  ทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อน

สาเหตุภายในร่างกาย
(Endogenous  or  Constitutional  Eczema)

เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  อาจเกี่ยวกับพันธุกรรมโรคในกลุ่มนี้มีหลายชนิด  ชนิดที่พบบ่อยคือ Atopic  Dermatitis  และ Seborrheicdermatilis

Atopic  Dermatitis (AD)

คือ  อาการทางผิวหนังที่เกิดร่วมกับอาการหอบหืด  โรคแพ้ละอองเกสรดอกไม้  เป็นลักษณะถ่ายทอดทางพันธุกรรม  โดยผู้ป่วยมีระดับ Immunogiobulin  E  สูง (สารที่พบในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้)  อาการโดยมากพบในวัยเด็ก  มีเพียงส่วนน้อยที่พบในช่วงอายุอื่น  อาการของผู้ป่วย AD  โดยทั่วไปมีผิวแห้งและมีเหงื่อออกน้อย  ในเด็กอ่อนมีอาการ  ผิวแห้งเป็นสะเก็ดที่แก้มทั้ง 2 ข้าง  เมื่อโตขึ้นอาการอาจลุกลามไปยังบริเวณลำคอหรือบริเวณแขนด้านนอก  ในเด็กอายุประมาร 2  ปี  หรือในวัยรุ่นจนถึงวัยหนุ่มสาว  มักพบผื่นบริเวณข้อพับของแขน  ขา  ใบหน้า  และลำคอ โดยปกติ  อาการจะทุเลาลงเมื่อยู่ในช่วงเวลา  8  ปี  แต่จะกลับมาเป็นอีกเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาว

ปัจจัยส่งเสริมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงของโรค AD

  • สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น แห้ง หรือร้อนจัด
  • การสวมเครื่องนุ่งห่มที่ทำจากใยสังเคราะห์ หรือขนสัตว์
  • การใช้สบู่ยา หรือยาทาบางชนิด ทำให้เกิดการระคายเคือง
  • มลภาวะแวดล้อม  เช่น  การอยู่ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นละอองหรือละอองเกสรดอกไม้  ควันบุหรี่
  • ความเครียดและความวิตกกังวล
  • การใช้สบู่ที่แรงสำหรับผิวอ่อน  หรือระคายเคืองได้ง่าย
  • สภาวะที่ผิวต้องแสงแดด  ลม  น้ำทะเล  ทราย

Seborrheic  dermatitis (SD)

คือ  ลักษณะอาการทางผิวหนัง  เป็นผื่นแดง  หรือเป็นมันเห็นขอบชัดเจนโดยที่ด้านบนจะมีสะเก็ดแห้ง ๆ เป็นขุนสีขาวเหลือง  ซึ่งมักหลุดลอกออกอยู่บ่อย ๆ บริเวณที่มักพบอาการมี  3  บริเวณ  คือ

1. บริเวณหน้า  ข้างจมูก  ระหว่างคิ้ว  หลังหู  หรือมีสะเก็ดในหู  คอ  อาจมีอาการอักเสบทีตา

2. บริเวณเหนือกระดูกซี่โครง  หลังตอนบน  และหน้าอก  รักแร้  ถ้าเป็นที่บริเวณหนังศีรษะ  เรียกว่า  รังแค (Dandruff)

ในวัยทารกมักพบในบริเวณขาหนีบ ใต้อก และสะดือ

ผู้ที่เป็น  Seborrheic  dermatitis  อาจมีการผลิตน้ำมันซึ่งมีกรดผสมอยู่ออกมามาก  ทำให้ผิวหนังอักเสบ  หรืออาจเกิดจาก  เชื้อยีสต์ที่ชื่อ Malasseziaที่เจริญเติบโตอยู่ในต่อมไขมันพร้อมกับแบคทีเรียซึ่งทำให้อาการอักเสบคงทนขึ้น

SD  มักพบใน  3  ช่วงอายุ  คือ  ทารกหลังคลอด  วัยรุ่น  และวัยสูงอายุ  เนื่องจากอาการของ SD  คล้ายกับอาการของโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)  การวินิจฉัยจึงต้องใช้ความชำนาญ เป็นพิเศษโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  อาการของ SD  ยังมีความสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ เช่น เอดส์  และการติดเชื้อ Malassezia

การวินิจฉัย

แพทย์ผิวหนังจะสอบประวัติการเป็นโรคหอบหืดภูมิแพ้อื่น ๆ ของคนในครอบครัว

การป้องกันและรักษา

โรค SD  ศีรษะ

ควรใช้แชมพูที่มีส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งของสารเคมีที่ผ่านการรับรองโดย FDA  คือ salicylic  acid  ceal  tar, zinc pydthlone, selenium sulfide, sulfur, azole (antifungats) และ ketoconazole ผู้ที่เป็นอาจลองแชมพูหลายชนิด  เพื่อหาชนิดที่เหมาะกับสภาพของตัวเอง  ควรเปลี่ยนแชมพูที่ผสมตัวยาสลับกับแชมพูทั่วไป  หรือเปลี่ยนแชมพูที่ผสมตัวยาแต่ละชนิดสลับกันเพราะแชมพูที่ผสมยาจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อใช้ไปสักระยะเพราะผื่นอาจดื้อยา  นอกจากนี้ ขณะที่สระผมควรนวดหนังศีรษะตรงบริเวณที่เป็นและทิ้งไว้สักพักแล้วจึงล้างออก  เพื่อทำให้สารซึมซาบลงสู่ผิวหนัง

การรักษารังแคผิวหนัง ผื่นแดงหรือโรคภูมิแพ้ผิวหนังโดยคนไข้ไม่ต้องทนกับการทาสเตียรอยด์ ไม่ทำให้หน้าบาง ลดการเกิดขลุ่ยรังแคที่เกิดจากผื่นได้ในระยะยาว โดยทีมแพทย์ BSL clinic สามารถทำให้ต่อมไขมันซึ่งเป็นบริเวณที่พบผื่นชนิดนี้ให้ทำงานลดลง จึงทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนัง สามาถรักษาหายได้

ภาพก่อนการรักษารังแคผิวหนัง Before: seborrheic dermatitis
ภาพหลังการรักษารังแคผิวหนัง 4 เดือน ที่ BSL clinic by Ananclinic
ภาพก่อนการรักษา คนไข้ที่มีปัญหาวนเวียนจากการรักษาสิวมาหลายที่แล้วทำให้ผิวบาง แพ้ง่าย แดงและเป็นผด เวลาโดนแสงแดดจะแดงและคัน (Sensitive skin and Acne)
ภาพหลังการรักษาโดยการทำให้ผิวมีแข็งแรงขึ้น ผดผื่น ผิวแพ้ง่ายและอาการแดงหายไปคนไข้สามารถออกแดดได้โดยไม่แดงและคัน สิวลดลง สภาพผิวแข็งแรงที่ BSL clinic by Ananclinic