เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอด เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่เกิดจากตัวเราเองและปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ พฤติกรรมการใช้ชีวิตเช่น การนั่งหรือการยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน น้ำหนักตัวที่มากขึ้นจากการตั้งครรภ์หรือความอ้วน ทำให้ความดันในเส้นเลือดฝอยสูงขึ้นเมื่อเกิดขึ้นเป็นเวลานานทำให้ลิ้นที่ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของเลือดเสื่อมสภาพ ทำให้เส้นเลือดขยายตัวพองออกจนเห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆ สีแดง หรือสีเขียว ต่อมาเมื่อนานเข้าก็จะโป่งเป็นเส้นนูนสีเขียวๆ มากน้อยของอาการก็ขึ้นอยู่กับการเสื่อมสภาพของเส้นเลือดเหล่านั้นว่าเป็นมากหรือน้อยเพียงใด ระยะเวลาในการเป็นนานเท่าไร จากการศึกษาพบว่าประมาณ 40 % ผู้หญิงในวัย 50 ปีขึ้นไป มักมีปัญหาบริเวณเส้นเลือดขอดหรือเส้นเลือดฝอยบริเวณขา

ซึ่งจะมีจำนวนมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการเสื่อมสภาพของเส้นเลือดเหล่านั้นว่าเป็นมากหรือน้อยเพียงใด หรือเป็นมานานเท่าไร จากการศึกษาพบว่าประมาณ 40% ของผู้หญิงในวัย 50 ปีขึ้นไป มักมีปัญหาบริเวณเส้นเลือดขอดหรือเส้นเลือดฝอยบริเวณขา

ภาพลักษณะของเส้นเลือดขอด

ปัจจัยเสี่ยง

  1. เกิดจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำนานๆ การทำงานที่ต้องยืน นั่ง หรือเดินนานๆ ทำให้เลือดบริเวณขาไหวเวียนไม่สะดวก เช่น
  2. เกิดจากกรรมพันธุ์ ประวัติครอบครัวพ่อแม่ที่มีเส้นเลือดขอดมาก่อนลูกมีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอด้วย
  3. เกิดจากอายุที่มากขึ้น ผนังหลอดเลือดดำจะมีความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง ไม่สามารถปิดกั้นการไหลย้อนกลับของเลือดได้
  4. เกิดจากฮอร์โมนเพศ ในการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศหญิงจะมีตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ เลยทำให้เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย
  5. เกิดจากการมีน้ำหนักเกิน ทำให้เกิดแรงดันสูงขึ้นภายในหลอดเลือดที่บริเวณขา เลือดจะหมุนเวียนได้ไม่สะดวก เกิดการคั่งค้างของเลือดจนทำให้เป็นเส้นเลือดขอด
  6. เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี

การรักษา แบ่งเป็น 2 อย่าง

  1. การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative Treatment)

วิธีนี้จะเน้นไปในทางป้องกันและรักษาตามอาการ โดยทั่วไปก็จะใช้วิธีการรักษานี้ ซึ่งสามารถทำได้โดยสวมถุงน่องชนิดพิเศษ ถุงหน่องมีความหนาและแน่นกว่าถุงน่องทั่วๆไป โดยจะมีความดันอยู่ในช่วง 20-30 mmHg การสวมจะต้องสวมตั้งแต่โคนขาถึงข้อเท้า แต่ถ้าหากคนไข้สวมน้อยกว่านี้ เช่น เฉพาะตรงเส้นเลือดก็จะไม่ได้ผล

  1. การรักษาแบบเฉพาะ (Conservative Treatment) วิธีการรักษาแบบนี้จะทำก็ต่อเมื่อมีอาการมากขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดขอด มีดังนี้
    • มีแผลเรื้อรัง ไม่หาย
    • มีผิวหนังอักเสบ
    • มีภาวะเส้นเลือดอุดตัน

การรักษาแบบเฉพาะมี 2 ประเภท คือ

  1. การฉีดสาร Sclerosing เข้าไปในหลอดเลือดดำซึ่งจะทำให้เส้นเลือดนั้นฝ่อแล้วยุบตัวไป ข้อดีคือ ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่มีแผล เป็นการรักษาที่ไม่ยุ่งยากอะไรเลย แพทย์จะใช้เวลาในการรักษาเพียง 30 – 60 นาที คุณจะไม่รู้สึกเจ็บ เพราะเข็มที่แพทย์ใช้ในการฉีดจะมีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่ 90% ของเส้นเลือดขอดจะหายไปหลังการรักษา แล้วแต่กรณีว่าคุณเป็นมากหรือน้อย โดยในปัจจุบันการรักษาวิธีนี้ถือว่าเป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาแบบเดิม 80-90 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมานี้จะเห็นผลดีจากการรักษาเพียงครั้งเดียว
ภาพ การฉีดสาร Sclerosing เข้าไปในหลอดเลือด
  1. Vascular Laser; Long pulse; ND YAG laser โดยแสงเลเซอร์จะทำลายเส้นเลือดโดยตรง ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดนั้นฝ่อแล้วยุบตัวไป ข้อดีคือ ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ก่อให้เกิดแผลเป็น

การปฏิบัติตัวหลังการรักษา

  1. หลีกเหลี่ยงหรือควรงดการยกของหนักและยืนนานๆ ประมาณ 3-7 วัน
  2. ควรสวมใส่เสื้อ ผ้ายืดและซัพพอร์ทในบริเวณที่ทำการรักษา เพื่อประคองกล้ามเนื้อและเส้นเลือดบริเวณนั้น เพิ่มแรงดันต่อหลอดเลือดมิให้โป่งพอง และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของเส้นเลือด ส่วนระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือด โดยเส้นเลือดเล็กฝอยให้ใส่ไว้ 1-3 วันเป็นอย่างน้อย ส่วนเส้นเลือดขอดขนาดกลาง (ขนาดเท่าไส้ปากกา)ควรใส่อย่างน้อย 7 วันขึ้นไป
  3. ควรออกกำลังกายด้วยการเดินทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ยากระจายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
  4. ควรพบแพทย์ตามนัดภายใน 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อแพทย์จะได้ติดตามผลการรักษา